วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคที่เิกิดจากพฤติกรรมต่างๆ

1. โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการกินอาหาร
     เราควรจะเลือกรับประทานอาหารให้ตรงเวลา เพื่อการป้องกันการเป็นโรคกระเพาะอาหาร และควรเลือกกินอาหารที่สะอาด ถูกหลังอนามัย และมีประโญชน์ครบ5หมู่ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่อ่อนแอเพราะขาดสารอาหาร และสุดท้ายไม่ควรที่จะทานอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป้น เค็มมาก เปรี้ยวมาก หวานมาก เผ็ดมากก็ตามก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น

2. โรคที่เกิดจากการออกกำลังกาย
     เราควรจะออกกำลังกายอาทิตย์ละ 1-2ครั้ง เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และห่างไกลจากโรคภัย เพราะถ้าเราไม่ออกกำลังกาย ร่างกายก็จะอ่อนแอ ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค และการไม่ออกกำลังกายก็จะสามารถสร้างโรคต่างๆเช่น โรคอ้วน โรคความดันเลือด เป็นต้น

3. โรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม
     เราควรช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาดแลน่าอยู่เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพกิจของตัวเราและคนที่อาศัยร่วมกันในชุมชน เมื่อสิ่งแวดล้อมสะอาด น่าอยู่ ก็จะทำให้สุขภาพร่างกายของเราสดชื่น แจ่มใส มีความสุขกบัสิ่งแวดล้อมที่ดี แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดี สกปรก ก็จะส่งผลต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายของเราเสื่อม และเกิดโณคภัยไข้เจ็บขึ้นได้

4. โรคที่เกิดจากพฤติกรรมทางสังคม และเพศสัมพันธ์
     การเข้าสังคม ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เป้นสิ่งปกติที่ต้องเจอ แต่การด่มเหล้า หรือสูบบุหรี่โดยไม่คำนึงถึงสุขภาพของตัวเองและผู้อื่น ก็จะส่งผลเสียทำให้ร่างกายของตนเองเกิดโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งปอด เป็นต้น ส่วนเรื่องเพศสัมพันธ์ก็สามารถป้องกันการเกิดโรคได้โดยวิธีการต่างๆไม่ว่าจะเป็น ไม่สำส่อนทางเพศ รักเดียวใจเดียว ไม่อยากลอง ใช้ถุงยางอนามัย ถ้าไม่สามารถป้องกันเรื่องเพศสัมพันธ์ได้ก็จะส่งผลทำให้ตนเองหรือผุ้อื่นติดโดรคทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอดส์ หนองใน เป็นต้น ดังนั้นเราควรจะป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทางสังคม และทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่เมหาะสมที่จะก่อให้เกิดโรคต่างๆได้

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ออกกำลังกายกันเถอะ

ออกกำลังกายกันเถอะ



การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับร่างกายที่แข็งแรง หลายคนตั้งใจที่จะออกกำลังกาย แต่ก็ต้องเลิกล้มแผนไปกลางครัน ด้วยหลายเหตุผล (หรือข้ออ้าง)  เช่น วันนี้ประชุมมาทั้งวันจนหมดแรงแล้ว วันนี้มีนัดกินข้าวกับเพื่อนหลังเลิกงาน อีกร้อยแปดเหตุผล ทั้งๆที่ใจก็อยากออกกำลังกาย ดังนั้นเพื่อไม่ให้แผนการออกกำลังกายของเราต้องเลือนหายไปกับวันเวลา
             หลายคนก่อนจะออกกำลังกายมักจะอ้างเหตุผลของการไม่ออกกำลังกาย เช่น ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ปัญหาเกี่ยวกับอากาศ ทั้งหมดเป็นข้ออ้างที่จะไม่ออกกำลังกาย แต่ลืมไปว่าการออกกำลังกายอาจจะให้ผลดีมากกว่าสิ่งที่เขาเสียไป
เป็นที่น่าดีใจว่าการออกกำลังให้สุขภาพดีไม่ต้องใช้เวลามากมาย เพียงแค่วันละครึ่งชั่วโมงก็พอ และก็ไม่ต้องใช้พื้นที่หรือเครื่องมืออะไร มีเพียงพื้นที่ในการเดินก็พอแล้ว การออกกำลังจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคอ้วน การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่น มีพลังที่จะทำงานและต่อสู้กับชีวิต นอกจากนั้นยังสามารถลดความเครียดได้ด้วย


วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาไทย

 ภูมิปัญญาไทย คือ ความรู้ความสามารถ วิธีการผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเป็นความรู้ ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผลที่ดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ สามารถนำมาแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้แต่ละหมู่บ้าน เช่น
1. บ้านเรือนไทย 

2. เสื่อกก

3. เครื่องจักรสาน


ภูมิปัญญาไทยกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
         ทุกชุมชนมีวิถีการดำรงชีวิตเป็นของตนเองและมีสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ทำให้สมาชิกในชุมชนมีภูมปัญญาที่แตกต่างกันออกไปโดยภูมิปัญญาเหล่านั้นได้ผ่านการลองผิดลองถูก และกลายมาเป็นภูมิปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ หรือการประคบสมุนไพรรักษาอาการปวดเมื่อยเป็นต้น ดังนั้นภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องของการบำบัด บรรเทา รักษาอาการเจ็บป่วยการป้องกันโรค และการเสริมสร้างสุขภาพ





การแพทย์แผนไทยกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
      การส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ก็คือการดูแลสุขภาพโดยนำเอาภูมิปัญญาพื้นบ้านไทยมาใช้ เป็นการดูแลแบบองค์รวม ผสมผสานระหว่างปรัชญาการดำเนินชีวิต ศาสนา วิทยาศาสตร์ โดยที่ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยมีแนวคิดว่า มนุษย์มีลักษณะเฉพาะตัวเรียกว่า "ธาตุเจ้าเรือน" ประกอบด้วย ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ การส่งเสริมสุขภาพแนวนี้ จึงเน้นการปรับสมดุลของธาตุในร่างกาย เช่น การนวดแผนไทย หรือ นวดแผนโบราณ เป็นการนวดชนิดหนึ่งในแบบไทย ซึ่งเป็นศาสตร์บำบัดและรักษาโรคแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนไทยโดยจะเน้นในลักษณะการยืดเส้น และการกดจุด การอบสมุนไพรไทย และการทำสมาธิ

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

งานโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนและสังคม

งานโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนและสังคม
1. ชื่อโครงการ : โครงการส่งเสริมการเล่นกีฬาของคนในหมู่บ้านธนากร 2
2. หลักการและเหตุผล : การจัดโครงการนี้ขึ้นมาก็เพื่อที่จะส่งเสริมคนในหมูบ้านในการรักษาสุขภาพร่างกายให้ดีขึ้น และมีสุขภาพที่แข็งแรงยิ่งขึ้น อีกทั้งส่งเสริมให้คนในหมู่บ้านรู้จักหันมารักษาสุขภาพร่างกายของตนเองและเล่นกีฬาให้มากขึ้น ปัจจุบันไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ หรือคนสูงอายุมักจะลืมเรื่องการตรวจสุขภาพ และออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาเพื่อให้ร่างกายของตนเองแข็งแรง และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น โรคไต โรคความดัน โรคหวัด เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมที่จะจัดขึ้นจะมีการจัดให้คนในหมู่บ้านมาเล่นกีฬาแข่งขันกันเอง การเข้าร่วมกิจกรรมนี้นอกจากจะเป็นการช่วยพัฒนาร่างกายของคนในหมู่บ้านแล้ว ยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนในหมู่บ้านได้ด้วย ทำให้คนในหมู่บ้านรู้จักกันมากขึ้น สนิทกันมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นความร่วมมือร่วมใจในการร่วมกันทำกิจกรรมให้ดำเนินลุล่วงไปได้
 3. วัตถุประสงค์ :  1. เพื่อส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพและการออกกำลังกายของคนในชุมชนทุกคน
                                2. เพื่อให้คนในหมูบ้านรู้จักกันมากขึ้นและมีความสามัคคีกัน
                                3. เพื่อเข้าไปช่วยเหลือคนในหมู่บ้านให้ได้มีร่างกายที่แข็งแรงมากขึ้น
                                4. ช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
4. กลุ่มเป้าหมาย : คนในหมู่บ้านธนากร 2 ทั้งหมด ประมาณ 700 คน
5. วิธีดำเนินการ :   1. ศึกษาความต้องการในการจัดโครงการส่งเสริมการเล่นกีฬาของคนในหมู่บ้าน
                                2. รวบรวมความคิดเห็นที่ได้รับมาประเมินผลในการจัดทำโครงการ
                                3. จัดทำโครงการเสนอประธานหมู่บ้าน
                                4. ติดต่อสถานที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง       
                                5. จัดโครงการส่งเสริมการเล่นกีฬาของคนในหมู่บ้าน 2ครั้ง/สัปดาห์
                        6. ติดตามประเมินผลการจัดโครงการส่งเสริมการเล่นกิจกรรม
                        7. สรุปผลที่ได้จากการจัดโครงการส่งเสริมการเล่นกีฬา
6. ระยะเวลาในการดำเนินการ : 3 เดือน
7. สถานที่ดำเนินการ : สนามในหมูบ้านธนากร 2
8. งบประมาณ : 10000 บาท
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ :        1. การเข้าร่วมการเล่นกีฬาของคนในหมู่บ้านทุกคน
                                    2. เพื่อสุขภาพจิตที่ดีของคนในหมู่บ้าน
                                                3. ความสามัคคีในการร่วมกันทำกิจกรรม
                                                4. คนในชุมชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงมากกว่าเดิม
10. ผู้รับผิดชอบโครงการ : นายปวีณ  สิริอัคคานนท์ เลขที่ 4 ม.6/5

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การเต้นรำจังหวะบีกินและชะชะช่า

การเต้นรำจังหวะบีกิน
                                                
         บีกินเป็นจังหวะลีลาศประเภทเบ็ดเตล็ด (POP AND SOCIAL DANCES) ที่ปัจจุบันนิยมเต้นกันเฉพาะงานสังคมลีลาศทั่ว ๆ ไปในประเทศไทย ไม่นิยมเต้นกันในต่างประเทศ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าคนไทยเรานิยมเต้นรำจังหวะบีกินมาตั้งแต่เมื่อไร เท่าที่พอจะทราบได้คือ ในช่วงเวลาที่ครูอัตถ์ พึ่งประยูร บรมครูสอนลีลาศคนหนึ่งของไทยที่เต้นรำมาตั้งแต่ พ.ศ. 2492 หรือ 2493 นั้นก็มีการเต้นรำจังหวะบีกินกันแล้ว โดยเข้าใจกันว่าชาวฟิลิปปินส์ที่มาเล่นดนตรีในเมืองไทยเป็นผู้แนะนำ
ดนตรีและการนับจังหวะ
- ดนตรีของจังหวะบีกินเป็นแบบ 4/4 คือ มี 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง โดยที่สามจังหวะแรกจะเป็นเสียงหนัก และจังหวะที่สี่จะเป็นเสียงเบา และทุก ๆ จังหวะจะมีความเร็วช้าเท่ากันหมด
- การนับจังหวะจะนับ 1,2,3, พัก, 1,2,3,พัก (พัก หมายถึง พักเข่าหรืองอเข่า) ต่อเนื่องกันไป และก้าวที่ 1 ตรงกับจังหวะที่ 1 ของห้องเพลง
- ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี
ดนตรีของจังหวะบีกินบรรเลงด้วยความเร็วประมาณ 28
32 ห้องเพลงต่อนาที
- การจับคู่
การจับคู่เป็นแบบปิดของละตินอเมริกันโดยทั่วไป
- การก้าวเท้า
การก้าวเท้าทุก ๆ ก้าวไม่ว่าจะเป็นการเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลังก็ตามต้องให้ฝ่าเท้าถึงพื้นก่อนเสมอ แล้วจึงราบลงเต็มเท้า ในขณะที่เดินเข่าจะงอเล็กน้อยเมื่อยกเท้าก้าวไป และตึงเมื่อวางเท้าถึงพื้นและราบเท้าลง เมื่อรับน้ำหนักตัวเต็มที่ หลักการก้าวเท้า คือ เข่าจะงอข้างหนึ่ง และตั้งข้างหนึ่งสลับกันไปมา ซึ่งจะทำให้สะโพกบิดไปมาอย่างเป็นธรรมชาติและสวยงาม ส่วนลำตัวตึงแต่เอวถึงศีรษะตรงและนิ่ง อย่าแกว่งตัวไปมา เพราะจะทำให้ไม่น่าดู
- ทักษะการเต้นรำจังหวะบีกิน
1.
 สแควร์ (Square)
2.
 การไขว้
3.
 การหมุน
- สแควร์ ของฝ่ายชาย ประกอบด้วยการเดิน ดังนี้
เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด หันหน้าตามแนวเต้นรำ น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา

ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าตรง ๆ
1
2
ก้าวเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปข้างหน้า
2
3
ก้าวเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปข้างหน้า
3

พัก งอเข่าขวา
พัก
4
ถอยเท้าขวาไปข้างหลังตรง ๆ
1
5
ถอยเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปข้างหลัง
2
6
ถอยเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปข้างหลัง
3
 
พัก งอเข่าซ้าย
พัก














1) การเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลัง 3 ก้าวนี้เรียกว่า 1 วอล์ค ส่วนจังหวะที่ 4 นั้นจะงอเข่าโดยการเปิดส้นเท้าขึ้นและจะใช้เท้าที่พักนี้เดินเป็นก้าวที่ 1 ในห้องเพลงต่อไป ดังนั้นการก้าวเท้าจะไม่ใช้เท้าซ้ำกันเลย
 2) ในการฝึกอาจจะฝึกเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลังติดต่อกันหลายๆ ห้องเพลงเพื่อหาความชำนาญในการก้าวเท้าให้ตรงกับจังหวะดนตรีก็ได้


- สแควร์ ของฝ่ายหญิง ประกอบด้วยการเดิน ดังนี้
เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด หันหน้าย้อนแนวเต้นรำ น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ก้าวเท้าขวาไปข้างหลังตรง ๆ
1
2
ถอยเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปข้างหลัง
2
3
ถอยเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปข้างหลัง
3

พัก งอเข่าซ้าย
พัก
4
ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าตรง ๆ
1
5
ก้าวเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปข้างหน้า
2
6
ก้าวเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปข้างหน้า
3
 
พัก งอเข่าขวา
พัก
















1) การเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลัง 3 ก้าวนี้เรียกว่า 1 วอล์ค ส่วนจังหวะที่ 4 นั้นจะงอเข่าโดยการเปิดส้นเท้าขึ้นและจะใช้เท้าที่พักนี้เดินเป็นก้าวที่ 1 ในห้องเพลงต่อไป ดังนั้นการก้าวเท้าจะไม่ใช้เท้าซ้ำกันเลย
2)
 ในการฝึกอาจจะฝึกเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลังติดต่อกันหลายๆ ห้องเพลงเพื่อหาความชำนาญในการก้าวเท้าให้ตรงกับจังหวะดนตรีก็ได้





- การไขว้ ของฝ่ายชายประกอบด้วยการเดิน  ดังนี้
เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด หันหน้าตามแนวเต้นรำ น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา  
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ก้าวเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปทางขวา
1
2
ก้าวเท้าขวาตามไปทางขวา
2
3
ถอยเท้าซ้ายผ่านส้นเท้าขวาไปทางขวา อีก 1 ก้าว
3

พัก  งอเข่าขวา
พัก
4
ยกเท้าขวาย่ำอยู่ที่เดิม
1
5
ก้าวเท้าซ้ายไปทางซ้าย
2
6
ถอยเท้าขวาผ่านส้นเท้าซ้ายไปทางซ้าย
3
 
พัก งอเข่าซ้าย
พัก












- การไขว้ ของฝ่ายหญิงประกอบด้วยการเดิน 3 ก้าว ดังนี้
เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด หันหน้าย้อนแนวเต้นรำ น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ถอยเท้าขวาผ่านส้นเท้าซ้ายไปทางซ้าย
1
2
ก้าวเท้าซ้ายตามไปทางซ้าย
2
3
ก้าวเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปทางซ้าย อีก 1 ก้าว
3

พัก งอเข่าซ้าย
พัก
4
ยกเท้าซ้ายย่ำอยู่ที่เดิม
1
5
ก้าวเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปทางขวา
2
6
ก้าวเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปทางขวา
3
 
พัก งอเข่าขวา
พัก















- การหมุนของฝ่ายชายประกอบด้วยการเดิน 3 ก้าวดังนี้
เริ่มต้นด้วยการยืนหันหน้าไปทางเดียวกัน มือซ้ายจับมือขวาของผู้หญิง น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา 
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ก้าวเท้าซ้ายหมุนตัวไปทางซ้าย 1/8 รอบพร้อมกับยกมือซ้ายขึ้นสูงเหนือศีรษะผู้หญิง
1
2
หมุนตัวไปทางซ้ายอีก 1/8 รอบพร้อมกับก้าวเท้าขวาไปข้างหน้ายังคงยกมือซ้ายอยู่
2
3
หมุนตัวไปทางซ้ายอีก 1/4 รอบพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า จบก้าวนี้แล้วลดมือซ้ายลง หันหน้าตรงกัน
3
พัก
งอเข่าขวา
พัก

**จบแล้วต่อด้วย สแควร์ ถอยหลัง 3 ก้าว (ขวา-ซ้าย-ขวา) และจับคู่แบบปิดตามเดิม**

- การหมุนของฝ่ายหญิงประกอบด้วยการเดิน 3 ก้าวดังนี้
เริ่มต้นด้วยการยืนหันหน้าไปทางเดียวกัน มือขวาจับมือซ้ายของผู้ชาย น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย
ก้าวที่
การก้าวเท้า                                              
จังหวะ
1
ยกมือขวาขึ้นสูงเหนือศีรษะและหมุนตัวไปทางขวา 3/8 รอบ (หันหน้าเข้าหาคู่ แต่ตัวเหลื่อมกัน) พร้อมกับก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า
1
2
หมุนตัวไปทางขวาอีก 3/8 รอบพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
2
3
หมุนตัวไปทางขวาอีก 1/2 รอบพร้อมกับถอยเท้าขวาไปข้างหลัง จบก้าวนี้แล้วลดมือขวาลง หันหน้าตรงกับคู่
3
พัก
งอเข่าซ้าย
พัก

**จบแล้วต่อด้วย สแควร์ ไปข้างหน้า 3 ก้าว (ซ้าย-ขวา-ซ้าย) และจับคู่แบบปิดตามเดิม**




                          การเต้นรำจังหวะช่ะ ช่ะ ช่า
            ในบรรดาจังหวะเต้นรำแบบละตินอเมริกันที่มีอยู่ด้วยกัน 5 จังหวะนั้น ช่ะ ช่ะ ช่า เป็นจังหวะเต้นรำที่มีกำเนิดหลังสุด กล่าวคือเป็นจังหวะที่รับการพัฒนามาจากจังหวะแมมโบ้ ( MAMBO) ซึ่งในอดีตเรียกชื่อจังหวะนี้เต็มๆ ว่า แมมโบ้ ช่ะ ช่ะ ช่า ต้นกำเนิดมาจากคิวบันการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากอิทธิพลของดนตรีที่พัฒนาไป ทำให้การเต้นรำพัฒนาตามไปด้วย
            ต้นกำเนิดของ ช่ะ ช่ะ ช่า เริ่มในปี ค.ศ. 1950 ขณะที่ดนตรีของคิวบันได้รับความนิยมอยู่ในอังกฤษนั้นได้มีเพลงจังหวะสวิง ( SWING) ซึ่งเกิดใหม่และนิยมกันมากเข้ามามีบทบาทแทรกแซงผสมผสานกับดนตรีของคิวบัน ทำให้เพลงของคิวบันที่เคยมีลักษณะนุ่มนวลเปลี่ยนเป็นเร็วขึ้น เครื่องดนตรีที่ใช้เคาะจังหวะเริ่มเล่นพลิกแพลงผิดเพี้ยนออกไป เริ่มเคาะให้ไม่ลงจังหวะ ( OFF BEAT) สไตล์ของดนตรีที่พัฒนามานี้จึงได้ชื่อว่า แมมโบ้ และมีการสาธิตเต้นรำจังหวะแมมโบ้ ในการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับการเต้นรำ แบบบอลรูมที่แบลคพูลประเทศอังกฤษ ( INTERNATIONAL DANCE CONGRESS IN BLACKPOLL) รูปแบบการเต้นแมมโบ้พื้นฐานก็คือ ก้าวออกไปข้างหน้า 1 ก้าว แล้วถอยกลับ 2 ก้าว จากนั้นถอยหลัง 1 ก้าว แล้วก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว (ก้าวที่ 2 ย้ำอยู่กับที่) แมมโบ้ได้รับความนิยม ทั้งเพลงและการเต้นอย่างมากในอเมริกาและยุโรป ต่อมาแมมโบ้ได้พัฒนาจากที่เคยเร็วให้ช้าลงสำหรับการเต้นจากแมมโบ้ที่เคยเต้นเดินหน้า 3 ก้าวและถอยหลัง 3 ก้าวก็เพิ่มการชิดเท้าไล่กันไปข้างหน้า 2 ก้าว และชิดเท้าไล่กันไปข้างหลัง 2 ก้าว ซึ่งเป็นรูปแบบของ ช่ะ ช่ะ ช่า ในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก
            การเต้นรำจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า นี้ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยชาวฟิลิปปินส์ ชื่อ มิสเตอร์เออร์นี่ นักดนตรีของวง ซีซ่า วาเลสโก ได้นำลีลาการเต้น ช่ะ ช่ะ ช่า และการเขย่ามาลากัส (ลูกแซ็ก) มาประกอบเพลงเข้าไปด้วย ซึ่งลีลาการเต้นนี้เป็นที่ประทับใจบรรดานักเต้นรำและครูสอนลีลาศทั้งหลาย จึงได้ขอให้มิสเตอร์เออร์นี่สอนให้ การเต้น ช่ะ ช่ะ ช่า ตามแบบของมิสเตอร์เออร์นี่จึงถูกถ่ายทอดและมีอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าในภายหลังได้มีการนำรูปแบบการเต้นที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลเข้ามาแทนที่แล้วก็ตาม

ดนตรีและการนับจังหวะ
 - ดนตรีของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า มีท่วงทำนองที่สนุกสนานเร้าใจ และมีจังหวะเน้นเด่นชัดดนตรีจะเป็นแบบ 4/4 เหมือนกับจังหวะคิวบ้ารัมบ้า คือ ใน 1 ห้องมี 4 จังหวะ
 - การนับจังหวะสามารถนับได้หลายวิธี เช่น หนึ่ง- สอง สามสี่ ห้า หรือ หนึ่ง สอง ช่ะ ช่ะ ช่า หรือนับก้าวจนครบตามจำนวนลวดลายพื้นฐาน หรือนับตามหลักสากลคือ นับตามจังหวะของดนตรี คือ สอง สาม สี่ และ หนึ่ง โดยที่ก้าวแรกตรงกับจังหวะที่ 2 ของห้องเพลง
ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี
ดนตรีของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า บรรเลงด้วยความเร็วมาตรฐาน 32 ห้องเพลงต่อนาที (30 40 ห้องเพลงต่อนาที)
การจับคู่เต้นรำในจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า เป็นการจับคู่แบบละตินอเมริกันโดยทั่วไปคือแบบปิด (มือขวาของชายวางบริเวณสะบักของผู้หญิง) การจับคู่นี้ไม่ได้จับอยู่เช่นนี้ตลอดเวลาแต่จะเปลี่ยนไปตามท่าเต้นซึ่งอาจจะต้องจับกันด้วยมือข้างเดียว หรืออาจปล่อยมือที่จับกันอยู่ทั้งสองข้างก็ได้
 
การก้าวเท้า
          การก้าวเท้าในจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า ไม่ว่าจะเป็นการก้าวเท้าไปข้างหน้าหรือถอยหลัง จะต้องให้  ฝ่าเท้า ( BALL OF FOOT) สัมผัสพื้นก่อนเสมอแล้วจึงราบลงเต็มเท้า การเต้นรำในจังหวะนี้จึงมีการใช้ฝ่าเท้ามากที่สุด และการใช้ตาต้องให้สัมพันธ์กับเข่า เพราะเมื่อมีการก้าวเท้าเข่าจะต้องงอเล็กน้อย หลังจากราบลงเต็มเท้าแล้วเข่าจึงตึง ส่วนเข่าอีกข้างก็จะงอเพื่อเตรียมก้าวต่อไป กล่าวได้ว่าตลอดเวลาของการใช้เท้านั้น เมื่อน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าใดส้นเท้านั้นจะต้องลดลง ดังนั้น จึงมีการสับเปลี่ยนการตึงและงอของช่วงขา พร้อมทั้งการลดลงและยกขึ้นของส้นเท้าสลับกันตามลำดับ ซึ่งการปฏิบัติในลักษณะนี้ทำให้สะโพกบิดไปมาสวยงามตามแบบการเต้นละตินอเมริกัน แต่ต้องระวังอย่าให้เป็นการจงใจทำเกินไปเพราะจะทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าดูได้
          อย่างไรก็ตามในการฝึกระยะแรกไม่ควรกังวลเกี่ยวกับการใช้ ขา เข่า และเท้ามากนัก ควรฝึกฝนลวดลายการเต้นให้ถูกต้องตามจังหวะของดนตรีเสียก่อนจนเกิดความชำนาญ แล้วจึงค่อยกลับมาฝึกฝนการก้าวเท้าเพื่อให้เกิดความสวยงามในภายหลัง
ทักษะการเต้นรำจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า
1.
 สแควร์ (Square)
2.
 การไขว้
3.
 การหมุน
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
2
2
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวา
3
3
ถอยเท้าซ้ายแยกออกข้างเยื้องไปข้างหลังพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย
4
4
ถอยเท้าขวาเข้ามาใกล้เท้าซ้ายครึ่งก้าว และ

5
ถอยเท้าซ้ายแยกออกข้างเยื้องไปข้างหลังครึ่งก้าว
1
6
ถอยเท้าขวาไปข้างหลังตรงๆ
2
7
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย
3
8
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย
4
9
ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว และ

10
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าครึ่งก้าว
1
 
สแควร์ (Square)
           สแควร์ ของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า เป็นการเต้นพื้นฐานที่ประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว แบ่งเป็นเดิน หน้า 5 ก้าวและถอยหลัง 5 ก้าว ในการฝึกเดินสำหรับผู้หัดใหม่ควรเริ่มเดินแบบเดินหน้าและถอยหลังตรง ๆ ก่อน แล้วจึงเริ่มหมุนโดยการหมุนตัวไปทางซ้ายครั้งละ 1/8 รอบ หรือ 1/4 รอบใน 5 ก้าวต่อไป
สแควร์ ของฝ่ายชายประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าวดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา
สแควร์ ของฝ่ายหญิงประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด และน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ถอยเท้าขวาไปข้างหลังตรง
2
2
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย
3
3
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย
4
4
ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว และ

5
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าครึ่งก้าว
1
6
ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าตรง ๆ
2
7
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวา
3
8
ถอยเท้าซ้ายแยกออกข้างเยื้องไปข้างหลังพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย
4
9
ถอยเท้าขวาเข้ามาใกล้เท้าซ้ายครึ่งก้าว และ

10
ถอยเท้าซ้ายออกข้างเยื้องไปข้างหลังครึ่งก้าว
1


























การไขว้ ของฝ่ายชายประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าตรง ๆ พร้อมกับเหยียดแขนซ้ายออกไปเพื่อนำให้ผู้หญิงถอยเท้าขวา
2
2
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวา พร้อมกับนำผู้หญิงเดินหน้าด้วยการงอแขนซ้ายทีละน้อยจนจบก้าวที่ 5
3
3
ถอยเท้าซ้ายมาวางข้าง ๆ เท้าขวา ยังคงนำผู้หญิงเดินเข้าหาด้านข้างตัว
4
4
ก้าวเท้าขวามาชิดซ้าย ยังคงนำผู้หญิงเดินเข้าหาด้านข้างตัว และ

5
ก้าวเท้าซ้ายแยกออกข้าง ๆ เตรียมยกมือซ้ายขึ้นเพื่อนำให้ผู้หญิงหมุนตัวไปทางขวา
1
6
ถอยเท้าขวามาข้างหลังตรง ๆ ยกมือซ้ายขึ้นเพื่อนำให้ผู้หญิงหมุนตัวไปทางขวา
2
7
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย ยังคงนำผู้หญิงให้หมุนอยู่
3
8
ก้าวเท้าขวามาวางข้าง ๆ เท้าซ้าย ยังคงนำผู้หญิงให้หมุนอยู่
4
9
ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว และ

10
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้าง ๆ ครึ่งก้าว
1





การไขว้ ของฝ่ายหญิง ประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิดแล้วเต้นสแควร์ 5 ก้าว แล้วทำท่าไขว้
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ถอยเท้าขวาไปข้างหลังตรงๆ
2
2
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย
3
3
ก้าวเท้าขวามาวางข้างๆ เท้าซ้าย
4
4
ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว และ

5
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างๆ ครึ่งก้าว
1
6
ก้าวเท้าซ้ายผ่านหน้าเท้าขวาพร้อม กับหมุนตัวไปทางขวา 1/4 รอบ
2
7
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวาพร้อมกับหมุนตัวมาทางขวา 1/2 รอบ
3
8
ก้าวเท้าซ้ายไปทางซ้ายแยกออกข้างๆ พร้อมกับหมุนตัวไปทางขวาอีก 1/4 รอบ
4
9
ก้าวเท้าขวาเข้ามาใกล้เท้าซ้ายครึ่งก้าว และ

10
ก้าวเท้าซ้ายแยกออกข้างๆ ครึ่งก้าว
1









การหมุน
การหมุนเป็นการเต้นรำที่มีการปล่อยมือออกจากคู่หมุนตัวอยู่กับที่ 1 รอบ ไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ โดยใช้การหมุนตัว 2 ก้าวแล้วชิดเท้าไล่กันอีก 3 ก้าว (แชสเซ่) ไปทางข้างๆ การหมุนจึงมีการเต้นอยู่ 2 แบบ คือ
            หมุนตัวไปทางซ้าย ( SPOT TURN TO LEFT)  หมุนตัวไปทางขวา ( SPOT TURN TO RIGHT) การหมุนนี้จะเต้นพร้อมกันทั้งคู่ คือถ้าผู้ชายหมุนตัวไปทางซ้าย ผู้หญิงก็คือหมุนตัวไปทางขวา(หมุนตัวตรงข้ามกัน) หรือผลัดกันทำคนละครั้งก็ได้ คือถ้าผู้ชายหมุนตัวไปทางขวาในก้าวที่ 1 5 ผู้หญิงจะเต้นไทม์ สเต็ป โดยถอยเท้าขวาไปข้างหลังและผู้ชายเต้นไทม์ สเต็ป ในก้าวที่ 6 10 ผู้หญิงจะต้องหมุนตัวไปทางขวาสลับกันไป การหมุนตัวไปทางซ้ายก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
·         การหมุนไปทางขวาประกอบด้วยการเดิน 5 ก้าว ดังนี้
·         การหมุนไปทางซ้ายประกอบด้วยการเดิน 5 ก้าว ดังนี้