วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การเต้นรำจังหวะบีกินและชะชะช่า

การเต้นรำจังหวะบีกิน
                                                
         บีกินเป็นจังหวะลีลาศประเภทเบ็ดเตล็ด (POP AND SOCIAL DANCES) ที่ปัจจุบันนิยมเต้นกันเฉพาะงานสังคมลีลาศทั่ว ๆ ไปในประเทศไทย ไม่นิยมเต้นกันในต่างประเทศ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าคนไทยเรานิยมเต้นรำจังหวะบีกินมาตั้งแต่เมื่อไร เท่าที่พอจะทราบได้คือ ในช่วงเวลาที่ครูอัตถ์ พึ่งประยูร บรมครูสอนลีลาศคนหนึ่งของไทยที่เต้นรำมาตั้งแต่ พ.ศ. 2492 หรือ 2493 นั้นก็มีการเต้นรำจังหวะบีกินกันแล้ว โดยเข้าใจกันว่าชาวฟิลิปปินส์ที่มาเล่นดนตรีในเมืองไทยเป็นผู้แนะนำ
ดนตรีและการนับจังหวะ
- ดนตรีของจังหวะบีกินเป็นแบบ 4/4 คือ มี 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง โดยที่สามจังหวะแรกจะเป็นเสียงหนัก และจังหวะที่สี่จะเป็นเสียงเบา และทุก ๆ จังหวะจะมีความเร็วช้าเท่ากันหมด
- การนับจังหวะจะนับ 1,2,3, พัก, 1,2,3,พัก (พัก หมายถึง พักเข่าหรืองอเข่า) ต่อเนื่องกันไป และก้าวที่ 1 ตรงกับจังหวะที่ 1 ของห้องเพลง
- ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี
ดนตรีของจังหวะบีกินบรรเลงด้วยความเร็วประมาณ 28
32 ห้องเพลงต่อนาที
- การจับคู่
การจับคู่เป็นแบบปิดของละตินอเมริกันโดยทั่วไป
- การก้าวเท้า
การก้าวเท้าทุก ๆ ก้าวไม่ว่าจะเป็นการเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลังก็ตามต้องให้ฝ่าเท้าถึงพื้นก่อนเสมอ แล้วจึงราบลงเต็มเท้า ในขณะที่เดินเข่าจะงอเล็กน้อยเมื่อยกเท้าก้าวไป และตึงเมื่อวางเท้าถึงพื้นและราบเท้าลง เมื่อรับน้ำหนักตัวเต็มที่ หลักการก้าวเท้า คือ เข่าจะงอข้างหนึ่ง และตั้งข้างหนึ่งสลับกันไปมา ซึ่งจะทำให้สะโพกบิดไปมาอย่างเป็นธรรมชาติและสวยงาม ส่วนลำตัวตึงแต่เอวถึงศีรษะตรงและนิ่ง อย่าแกว่งตัวไปมา เพราะจะทำให้ไม่น่าดู
- ทักษะการเต้นรำจังหวะบีกิน
1.
 สแควร์ (Square)
2.
 การไขว้
3.
 การหมุน
- สแควร์ ของฝ่ายชาย ประกอบด้วยการเดิน ดังนี้
เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด หันหน้าตามแนวเต้นรำ น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา

ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าตรง ๆ
1
2
ก้าวเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปข้างหน้า
2
3
ก้าวเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปข้างหน้า
3

พัก งอเข่าขวา
พัก
4
ถอยเท้าขวาไปข้างหลังตรง ๆ
1
5
ถอยเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปข้างหลัง
2
6
ถอยเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปข้างหลัง
3
 
พัก งอเข่าซ้าย
พัก














1) การเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลัง 3 ก้าวนี้เรียกว่า 1 วอล์ค ส่วนจังหวะที่ 4 นั้นจะงอเข่าโดยการเปิดส้นเท้าขึ้นและจะใช้เท้าที่พักนี้เดินเป็นก้าวที่ 1 ในห้องเพลงต่อไป ดังนั้นการก้าวเท้าจะไม่ใช้เท้าซ้ำกันเลย
 2) ในการฝึกอาจจะฝึกเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลังติดต่อกันหลายๆ ห้องเพลงเพื่อหาความชำนาญในการก้าวเท้าให้ตรงกับจังหวะดนตรีก็ได้


- สแควร์ ของฝ่ายหญิง ประกอบด้วยการเดิน ดังนี้
เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด หันหน้าย้อนแนวเต้นรำ น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ก้าวเท้าขวาไปข้างหลังตรง ๆ
1
2
ถอยเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปข้างหลัง
2
3
ถอยเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปข้างหลัง
3

พัก งอเข่าซ้าย
พัก
4
ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าตรง ๆ
1
5
ก้าวเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปข้างหน้า
2
6
ก้าวเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปข้างหน้า
3
 
พัก งอเข่าขวา
พัก
















1) การเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลัง 3 ก้าวนี้เรียกว่า 1 วอล์ค ส่วนจังหวะที่ 4 นั้นจะงอเข่าโดยการเปิดส้นเท้าขึ้นและจะใช้เท้าที่พักนี้เดินเป็นก้าวที่ 1 ในห้องเพลงต่อไป ดังนั้นการก้าวเท้าจะไม่ใช้เท้าซ้ำกันเลย
2)
 ในการฝึกอาจจะฝึกเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลังติดต่อกันหลายๆ ห้องเพลงเพื่อหาความชำนาญในการก้าวเท้าให้ตรงกับจังหวะดนตรีก็ได้





- การไขว้ ของฝ่ายชายประกอบด้วยการเดิน  ดังนี้
เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด หันหน้าตามแนวเต้นรำ น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา  
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ก้าวเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปทางขวา
1
2
ก้าวเท้าขวาตามไปทางขวา
2
3
ถอยเท้าซ้ายผ่านส้นเท้าขวาไปทางขวา อีก 1 ก้าว
3

พัก  งอเข่าขวา
พัก
4
ยกเท้าขวาย่ำอยู่ที่เดิม
1
5
ก้าวเท้าซ้ายไปทางซ้าย
2
6
ถอยเท้าขวาผ่านส้นเท้าซ้ายไปทางซ้าย
3
 
พัก งอเข่าซ้าย
พัก












- การไขว้ ของฝ่ายหญิงประกอบด้วยการเดิน 3 ก้าว ดังนี้
เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด หันหน้าย้อนแนวเต้นรำ น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ถอยเท้าขวาผ่านส้นเท้าซ้ายไปทางซ้าย
1
2
ก้าวเท้าซ้ายตามไปทางซ้าย
2
3
ก้าวเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปทางซ้าย อีก 1 ก้าว
3

พัก งอเข่าซ้าย
พัก
4
ยกเท้าซ้ายย่ำอยู่ที่เดิม
1
5
ก้าวเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปทางขวา
2
6
ก้าวเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปทางขวา
3
 
พัก งอเข่าขวา
พัก















- การหมุนของฝ่ายชายประกอบด้วยการเดิน 3 ก้าวดังนี้
เริ่มต้นด้วยการยืนหันหน้าไปทางเดียวกัน มือซ้ายจับมือขวาของผู้หญิง น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา 
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ก้าวเท้าซ้ายหมุนตัวไปทางซ้าย 1/8 รอบพร้อมกับยกมือซ้ายขึ้นสูงเหนือศีรษะผู้หญิง
1
2
หมุนตัวไปทางซ้ายอีก 1/8 รอบพร้อมกับก้าวเท้าขวาไปข้างหน้ายังคงยกมือซ้ายอยู่
2
3
หมุนตัวไปทางซ้ายอีก 1/4 รอบพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า จบก้าวนี้แล้วลดมือซ้ายลง หันหน้าตรงกัน
3
พัก
งอเข่าขวา
พัก

**จบแล้วต่อด้วย สแควร์ ถอยหลัง 3 ก้าว (ขวา-ซ้าย-ขวา) และจับคู่แบบปิดตามเดิม**

- การหมุนของฝ่ายหญิงประกอบด้วยการเดิน 3 ก้าวดังนี้
เริ่มต้นด้วยการยืนหันหน้าไปทางเดียวกัน มือขวาจับมือซ้ายของผู้ชาย น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย
ก้าวที่
การก้าวเท้า                                              
จังหวะ
1
ยกมือขวาขึ้นสูงเหนือศีรษะและหมุนตัวไปทางขวา 3/8 รอบ (หันหน้าเข้าหาคู่ แต่ตัวเหลื่อมกัน) พร้อมกับก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า
1
2
หมุนตัวไปทางขวาอีก 3/8 รอบพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
2
3
หมุนตัวไปทางขวาอีก 1/2 รอบพร้อมกับถอยเท้าขวาไปข้างหลัง จบก้าวนี้แล้วลดมือขวาลง หันหน้าตรงกับคู่
3
พัก
งอเข่าซ้าย
พัก

**จบแล้วต่อด้วย สแควร์ ไปข้างหน้า 3 ก้าว (ซ้าย-ขวา-ซ้าย) และจับคู่แบบปิดตามเดิม**




                          การเต้นรำจังหวะช่ะ ช่ะ ช่า
            ในบรรดาจังหวะเต้นรำแบบละตินอเมริกันที่มีอยู่ด้วยกัน 5 จังหวะนั้น ช่ะ ช่ะ ช่า เป็นจังหวะเต้นรำที่มีกำเนิดหลังสุด กล่าวคือเป็นจังหวะที่รับการพัฒนามาจากจังหวะแมมโบ้ ( MAMBO) ซึ่งในอดีตเรียกชื่อจังหวะนี้เต็มๆ ว่า แมมโบ้ ช่ะ ช่ะ ช่า ต้นกำเนิดมาจากคิวบันการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากอิทธิพลของดนตรีที่พัฒนาไป ทำให้การเต้นรำพัฒนาตามไปด้วย
            ต้นกำเนิดของ ช่ะ ช่ะ ช่า เริ่มในปี ค.ศ. 1950 ขณะที่ดนตรีของคิวบันได้รับความนิยมอยู่ในอังกฤษนั้นได้มีเพลงจังหวะสวิง ( SWING) ซึ่งเกิดใหม่และนิยมกันมากเข้ามามีบทบาทแทรกแซงผสมผสานกับดนตรีของคิวบัน ทำให้เพลงของคิวบันที่เคยมีลักษณะนุ่มนวลเปลี่ยนเป็นเร็วขึ้น เครื่องดนตรีที่ใช้เคาะจังหวะเริ่มเล่นพลิกแพลงผิดเพี้ยนออกไป เริ่มเคาะให้ไม่ลงจังหวะ ( OFF BEAT) สไตล์ของดนตรีที่พัฒนามานี้จึงได้ชื่อว่า แมมโบ้ และมีการสาธิตเต้นรำจังหวะแมมโบ้ ในการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับการเต้นรำ แบบบอลรูมที่แบลคพูลประเทศอังกฤษ ( INTERNATIONAL DANCE CONGRESS IN BLACKPOLL) รูปแบบการเต้นแมมโบ้พื้นฐานก็คือ ก้าวออกไปข้างหน้า 1 ก้าว แล้วถอยกลับ 2 ก้าว จากนั้นถอยหลัง 1 ก้าว แล้วก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว (ก้าวที่ 2 ย้ำอยู่กับที่) แมมโบ้ได้รับความนิยม ทั้งเพลงและการเต้นอย่างมากในอเมริกาและยุโรป ต่อมาแมมโบ้ได้พัฒนาจากที่เคยเร็วให้ช้าลงสำหรับการเต้นจากแมมโบ้ที่เคยเต้นเดินหน้า 3 ก้าวและถอยหลัง 3 ก้าวก็เพิ่มการชิดเท้าไล่กันไปข้างหน้า 2 ก้าว และชิดเท้าไล่กันไปข้างหลัง 2 ก้าว ซึ่งเป็นรูปแบบของ ช่ะ ช่ะ ช่า ในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก
            การเต้นรำจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า นี้ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยชาวฟิลิปปินส์ ชื่อ มิสเตอร์เออร์นี่ นักดนตรีของวง ซีซ่า วาเลสโก ได้นำลีลาการเต้น ช่ะ ช่ะ ช่า และการเขย่ามาลากัส (ลูกแซ็ก) มาประกอบเพลงเข้าไปด้วย ซึ่งลีลาการเต้นนี้เป็นที่ประทับใจบรรดานักเต้นรำและครูสอนลีลาศทั้งหลาย จึงได้ขอให้มิสเตอร์เออร์นี่สอนให้ การเต้น ช่ะ ช่ะ ช่า ตามแบบของมิสเตอร์เออร์นี่จึงถูกถ่ายทอดและมีอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าในภายหลังได้มีการนำรูปแบบการเต้นที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลเข้ามาแทนที่แล้วก็ตาม

ดนตรีและการนับจังหวะ
 - ดนตรีของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า มีท่วงทำนองที่สนุกสนานเร้าใจ และมีจังหวะเน้นเด่นชัดดนตรีจะเป็นแบบ 4/4 เหมือนกับจังหวะคิวบ้ารัมบ้า คือ ใน 1 ห้องมี 4 จังหวะ
 - การนับจังหวะสามารถนับได้หลายวิธี เช่น หนึ่ง- สอง สามสี่ ห้า หรือ หนึ่ง สอง ช่ะ ช่ะ ช่า หรือนับก้าวจนครบตามจำนวนลวดลายพื้นฐาน หรือนับตามหลักสากลคือ นับตามจังหวะของดนตรี คือ สอง สาม สี่ และ หนึ่ง โดยที่ก้าวแรกตรงกับจังหวะที่ 2 ของห้องเพลง
ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี
ดนตรีของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า บรรเลงด้วยความเร็วมาตรฐาน 32 ห้องเพลงต่อนาที (30 40 ห้องเพลงต่อนาที)
การจับคู่เต้นรำในจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า เป็นการจับคู่แบบละตินอเมริกันโดยทั่วไปคือแบบปิด (มือขวาของชายวางบริเวณสะบักของผู้หญิง) การจับคู่นี้ไม่ได้จับอยู่เช่นนี้ตลอดเวลาแต่จะเปลี่ยนไปตามท่าเต้นซึ่งอาจจะต้องจับกันด้วยมือข้างเดียว หรืออาจปล่อยมือที่จับกันอยู่ทั้งสองข้างก็ได้
 
การก้าวเท้า
          การก้าวเท้าในจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า ไม่ว่าจะเป็นการก้าวเท้าไปข้างหน้าหรือถอยหลัง จะต้องให้  ฝ่าเท้า ( BALL OF FOOT) สัมผัสพื้นก่อนเสมอแล้วจึงราบลงเต็มเท้า การเต้นรำในจังหวะนี้จึงมีการใช้ฝ่าเท้ามากที่สุด และการใช้ตาต้องให้สัมพันธ์กับเข่า เพราะเมื่อมีการก้าวเท้าเข่าจะต้องงอเล็กน้อย หลังจากราบลงเต็มเท้าแล้วเข่าจึงตึง ส่วนเข่าอีกข้างก็จะงอเพื่อเตรียมก้าวต่อไป กล่าวได้ว่าตลอดเวลาของการใช้เท้านั้น เมื่อน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าใดส้นเท้านั้นจะต้องลดลง ดังนั้น จึงมีการสับเปลี่ยนการตึงและงอของช่วงขา พร้อมทั้งการลดลงและยกขึ้นของส้นเท้าสลับกันตามลำดับ ซึ่งการปฏิบัติในลักษณะนี้ทำให้สะโพกบิดไปมาสวยงามตามแบบการเต้นละตินอเมริกัน แต่ต้องระวังอย่าให้เป็นการจงใจทำเกินไปเพราะจะทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าดูได้
          อย่างไรก็ตามในการฝึกระยะแรกไม่ควรกังวลเกี่ยวกับการใช้ ขา เข่า และเท้ามากนัก ควรฝึกฝนลวดลายการเต้นให้ถูกต้องตามจังหวะของดนตรีเสียก่อนจนเกิดความชำนาญ แล้วจึงค่อยกลับมาฝึกฝนการก้าวเท้าเพื่อให้เกิดความสวยงามในภายหลัง
ทักษะการเต้นรำจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า
1.
 สแควร์ (Square)
2.
 การไขว้
3.
 การหมุน
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
2
2
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวา
3
3
ถอยเท้าซ้ายแยกออกข้างเยื้องไปข้างหลังพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย
4
4
ถอยเท้าขวาเข้ามาใกล้เท้าซ้ายครึ่งก้าว และ

5
ถอยเท้าซ้ายแยกออกข้างเยื้องไปข้างหลังครึ่งก้าว
1
6
ถอยเท้าขวาไปข้างหลังตรงๆ
2
7
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย
3
8
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย
4
9
ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว และ

10
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าครึ่งก้าว
1
 
สแควร์ (Square)
           สแควร์ ของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า เป็นการเต้นพื้นฐานที่ประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว แบ่งเป็นเดิน หน้า 5 ก้าวและถอยหลัง 5 ก้าว ในการฝึกเดินสำหรับผู้หัดใหม่ควรเริ่มเดินแบบเดินหน้าและถอยหลังตรง ๆ ก่อน แล้วจึงเริ่มหมุนโดยการหมุนตัวไปทางซ้ายครั้งละ 1/8 รอบ หรือ 1/4 รอบใน 5 ก้าวต่อไป
สแควร์ ของฝ่ายชายประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าวดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา
สแควร์ ของฝ่ายหญิงประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด และน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ถอยเท้าขวาไปข้างหลังตรง
2
2
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย
3
3
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย
4
4
ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว และ

5
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าครึ่งก้าว
1
6
ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าตรง ๆ
2
7
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวา
3
8
ถอยเท้าซ้ายแยกออกข้างเยื้องไปข้างหลังพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย
4
9
ถอยเท้าขวาเข้ามาใกล้เท้าซ้ายครึ่งก้าว และ

10
ถอยเท้าซ้ายออกข้างเยื้องไปข้างหลังครึ่งก้าว
1


























การไขว้ ของฝ่ายชายประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าตรง ๆ พร้อมกับเหยียดแขนซ้ายออกไปเพื่อนำให้ผู้หญิงถอยเท้าขวา
2
2
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวา พร้อมกับนำผู้หญิงเดินหน้าด้วยการงอแขนซ้ายทีละน้อยจนจบก้าวที่ 5
3
3
ถอยเท้าซ้ายมาวางข้าง ๆ เท้าขวา ยังคงนำผู้หญิงเดินเข้าหาด้านข้างตัว
4
4
ก้าวเท้าขวามาชิดซ้าย ยังคงนำผู้หญิงเดินเข้าหาด้านข้างตัว และ

5
ก้าวเท้าซ้ายแยกออกข้าง ๆ เตรียมยกมือซ้ายขึ้นเพื่อนำให้ผู้หญิงหมุนตัวไปทางขวา
1
6
ถอยเท้าขวามาข้างหลังตรง ๆ ยกมือซ้ายขึ้นเพื่อนำให้ผู้หญิงหมุนตัวไปทางขวา
2
7
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย ยังคงนำผู้หญิงให้หมุนอยู่
3
8
ก้าวเท้าขวามาวางข้าง ๆ เท้าซ้าย ยังคงนำผู้หญิงให้หมุนอยู่
4
9
ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว และ

10
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้าง ๆ ครึ่งก้าว
1





การไขว้ ของฝ่ายหญิง ประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิดแล้วเต้นสแควร์ 5 ก้าว แล้วทำท่าไขว้
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ถอยเท้าขวาไปข้างหลังตรงๆ
2
2
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย
3
3
ก้าวเท้าขวามาวางข้างๆ เท้าซ้าย
4
4
ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว และ

5
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างๆ ครึ่งก้าว
1
6
ก้าวเท้าซ้ายผ่านหน้าเท้าขวาพร้อม กับหมุนตัวไปทางขวา 1/4 รอบ
2
7
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวาพร้อมกับหมุนตัวมาทางขวา 1/2 รอบ
3
8
ก้าวเท้าซ้ายไปทางซ้ายแยกออกข้างๆ พร้อมกับหมุนตัวไปทางขวาอีก 1/4 รอบ
4
9
ก้าวเท้าขวาเข้ามาใกล้เท้าซ้ายครึ่งก้าว และ

10
ก้าวเท้าซ้ายแยกออกข้างๆ ครึ่งก้าว
1









การหมุน
การหมุนเป็นการเต้นรำที่มีการปล่อยมือออกจากคู่หมุนตัวอยู่กับที่ 1 รอบ ไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ โดยใช้การหมุนตัว 2 ก้าวแล้วชิดเท้าไล่กันอีก 3 ก้าว (แชสเซ่) ไปทางข้างๆ การหมุนจึงมีการเต้นอยู่ 2 แบบ คือ
            หมุนตัวไปทางซ้าย ( SPOT TURN TO LEFT)  หมุนตัวไปทางขวา ( SPOT TURN TO RIGHT) การหมุนนี้จะเต้นพร้อมกันทั้งคู่ คือถ้าผู้ชายหมุนตัวไปทางซ้าย ผู้หญิงก็คือหมุนตัวไปทางขวา(หมุนตัวตรงข้ามกัน) หรือผลัดกันทำคนละครั้งก็ได้ คือถ้าผู้ชายหมุนตัวไปทางขวาในก้าวที่ 1 5 ผู้หญิงจะเต้นไทม์ สเต็ป โดยถอยเท้าขวาไปข้างหลังและผู้ชายเต้นไทม์ สเต็ป ในก้าวที่ 6 10 ผู้หญิงจะต้องหมุนตัวไปทางขวาสลับกันไป การหมุนตัวไปทางซ้ายก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
·         การหมุนไปทางขวาประกอบด้วยการเดิน 5 ก้าว ดังนี้
·         การหมุนไปทางซ้ายประกอบด้วยการเดิน 5 ก้าว ดังนี้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น