ร่างกายของเรา
ตอนที่ 1 กระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และระบบต่อมไร้ท่อ
ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกัน กลุ่มเซลล์ที่ร่วมกันทำหน้าที่เฉพาะอย่างเรียกว่า เนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดร่วมกันทำหน้าที่เรียกว่า อวัยวะ อวัยวะหลายๆอวัยวะทำงานประสานกันเกิดเป็นระบบ
1.1 ความสำคัญ และหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
ระบบต่างๆในร่างกายต้องพึ่งพาและทำงานสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หากมีอวัยวะใดทำงานผิดปกติย่อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ หลักการของกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายมีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้
1.รักษาอนามัยส่วนบุคคล
2.บริโภคอาหารให้ถูกต้องเหมาะสม
3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4. พักผ่อนให้เพียงพอ
5.ทำจิตใจให้ร่างเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
6.หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติด
7.ตรวจเช็คร่างกาย
1.2 ระบบประสาท
ระบบประสาท คือ ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึก
1.2.1 องค์ประกอบของระบบประสาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง
สมองแบ่งเป็น 3 ส่วน
สมองส่วนหน้า ประกอบด้วย
ซีลีบรัม ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำความนึกคิด
ทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานนีถ่ายทอดกระแสประสาทที่รับความสึก
ไฮโพทาลามัส ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายการเต้นของหัวใจ
สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกานเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
สมองส่วนท้าย ประกอบด้วย
ซีรีเบลัม ทำหน้าที่ในการดูแลการทำงานของส่วนต่างๆของร่างกาย
พอนส์ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่าง
เมดัลลา ออฟลองกาต้า ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมของระบบประสาท อัตโนมัติ
ไขสันหลัง มีเยื่อหุ้ม 3 ชั้นและมีของเหลวบรรจุอยู่ในเยื่อหุ้มทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆของร่างกายส่งไปยังสมองและรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองไปยังอวัยวะต่างๆ
2.ระบบประสาทส่วนปลาย
ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และประสาทระบบอัตโนมัติ
1.2.2 การทำงานของระบบประสาท ระบบประสาทเป็นระบบที่ทำงานประสานกันกับระบบกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นยังรับกระแสประสาทจากอวัยวะภายในและส่งคำสั่งกลับไปควบคุมการเต้นของหัวใจ
1.2.3 การบำรุงรักษาระบบประสาท
1. ระวังไม่ให้เกิการกระทบกระเทือนบริเวณศีษระ
2. ป้องกันไม่ให้เกิดโรตทางสมอง
3. หลีกเลี่ยงยาชนิดต่างๆที่มีผลต่อสมอง
1.3 ระบบสืบพันธุ์
1.3.1 อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
- อัณฑะทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิและสร้างฮอร์โมนเทสโทเทอโรน
- ถุงหุ้มอัณฑะทำหน้าที่ควมคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการส้รางตัวอสุจิ
- หลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิที่เจร์ญเต็มที่
- หลอดนำตัวอสุจิทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
- ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ
- ต่อมลูกหมากทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน
- ต่อมคาวเปอร์ทำหน้าที่หลั่งสารไปล่อลื่นท่อปัสสาวะ
โดยทั่วไปเพศชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นอายุประมาณ 12-13 ปี และจะสร้างไปจนตลอดชีวิต
1.3.2 อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
- รังไข่ทำหน้าที่ผลิตไข่ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์หญิงสุกเดือนละ 1 ใบ สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ เอสโทรเจน และ โพรเจสเทอโรน
- ท่อนำไข่ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก
- มดลูกประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ชั้น คือ ชั้นนอกเป็นเยื่อบางๆ ชั้นกลางประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ ชั้นในเรียกว่า เยื่อบุมดลูก
-ช่องคลอดทำหน้าที่เป็นตัวผ่านของอสุจิเข้าสู่มดลูก
1.3.3 การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
- ดูแลร่างกายให้แข็งแรงสม่ำเสมอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ทำความสะอาดร่างกายสม่ำเสมอและทั่วถึง
- ไม่สำส่อนทางเพศ
- สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด
1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ
- ต่อมใต้สมอง เป็นศูนย์ควบคุมใหญ่ของร่างกาย มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง
- ต่อมหมวกไต มี2ชั้น ชั้นในสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลิน ชั้นนอกสร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร
- ต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนไทรอกซิน เพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย
- ต่อมพาราไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนพาราฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือด
- ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน สร้างฮอร์โมนอินซูลิน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลในร่างกาย
- รังไข่ และอัณฑะ โดยรังไขทำหน้าที่ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง ส่วนอัณฑะทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิและฮอร์โมนเพศชาย
- ต่อมไทมัส ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
1.4.2 การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ
- เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบ5หมู่
- ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลักเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อต่อมไร้ท่อ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น